วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561

เทือกเขาแอนดีส

   
     เทือกเขาแอนดีส เป็นเทือกเขาที่วางตัวขนานกับด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก พาดผ่าน 6 ประเทศตั้งแต่ โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย อาร์เจนตินา และ ชิลี

               เทือกเขาเกิดจากแนวรอยปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นปะทะกันเป็นเวลานานหลายล้านปี เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนยาวตลอดชายฝั่งตะวันตกของทวีป ทอดตัวเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกจากเหนือสุดลงมาใต้สุด ตั้งแต่เกาะติแอร์ราเดลฟูเอโกขึ้นไปถึงประเทศเวเนซุเอลา เป็นเทือกเขาที่มีภูเขาไฟที่ยังทรงพลังอยู่หลายลูก แนวเทือกเขานี้มีความยาวประมาณ 7,200 กิโลเมตร นับเป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำโอริโนโค และแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญในทวีปอเมริกาใต้ มียอดเขาที่สูงที่สุด ชื่อ อะคองคากัว (Acomcagua) สูงประมาณ 6,000 เมตร
ในประเทศอาร์เจนตินา เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ในเขตเทือกเขาแอนดีส มีที่ราบสูงโบลิเวีย ซึ่งเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ที่มีความสูงจากระดับมากเป็น ที่สองของโลกรองจากที่ราบสูงทิเบตและบนที่ราบสูงมีทะเลสาบสำคัญชื่อ ทะเลสาบ ติติกากาเป็นทะเลสาบน้ำจืด ขนาดใหญ่ที่ใช้เดินเรือได้ อยู่สูงที่สุดในโลก (ประมาณ 3,810เมตร) นอกจากนี้บริเวณเขตเทือกเขาแอนดีสยังปรากฏภูมิประเทศอีกหลายลักษณะด้วยกัน ได้แก่ ทะเลทรายอาตากามา บริเวณชายฝั่งเปรู-ชิลี และตอนใต้สุดของทวีปบริเวณชายฝั่งประเทศชิลี ยังปรากฏชายฝั่งฟยอร์ด ที่เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็งในอดีตอีกด้วย

                เทือกเขาแอนดีสบริเวณประเทศโบลิเวียมีที่ราบสูงที่ชาวโบลีเวียเรียกว่า อัลติพลาโน (altiplano) หรือที่ราบสูงโบลิเวีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของประเทศโบลิเวียชื่อลาปาซซึ่งได้ชื่อว่าเป็น เมืองหลวงที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลก และบริเวณที่ราบสูงโบลิเวียนี้ก็เป็นที่ตั้งของทะเลสาบติติกากาซึ่งตั้งอยู่ พรมแดนระหว่างประเทศเปรูกับประเทศโบลิเวีย และได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลก ด้วย แนวเขาในเขตประเทศเปรูเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำอเมซอนที่ความยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์บริเวณตอนใต้ของเทือกเขาแอนดีสเป็นที่ราบเชิงเขาอยู่เขตรอยต่อระหว่างประเทศอาร์เจนตินากับประเทศชิลีและเรียกบริเวณนั้นว่าที่ราบสูงปาตาโกเนีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น