วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความเป็นมาของหอไอเฟล

           หอไอเฟลเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส หากใครที่ได้ไปเมืองน้ำหอมแล้วไม่ได้ไปดูหอไอเฟลนี้เรียกว่ายังไปไม่ถึงก็อาจจะเป็นได้ นักท่องเที่ยวมากมายก็สนใจไปดูหอไอเฟลนี้แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าประวัติความเป็นมาของเจ้าหอไอเฟลนี้ งั้นเราไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นของหอไอเฟลกันค่ะ
           หอไอเฟลเป็นหอคอยเหล็กตั้งอยู่ที่ Champ de Mars ในกรุงปารีส เมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส หอคอยแห่งนี้เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส และเป็นหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก

           หอคอยแห่งนี้ถูกตั้งชื่อตามผู้ออกแบบคือ Gustave Eiffel ทำการสร้างในระหว่างปี 1887-1889 น้ำหนักของหอไอเฟลคือ 7300 ตัน ยอดของหอคอยสามารถเบนออกจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังยอดหอคอยถึง 18 เซ็นติเมตร (7นิ้ว) ทั้งนี้ขึ้นอยูกับอุณหภูมิของเหล็กด้านที่หันหน้าเข้าสู่แสงอาทตย์ซึ่งจะ ขยายตัวเนื่องจากความร้อนที่ได้รับ นอกจากนี้ตัวหอคอยแห่งนี้ยังมีการแกว่งตัวตามแรงลมอีกด้วย โดยการแกว่งตัวอยู่ที่ระดับ 6-7 เซ็นติเมตร (2-3นิ้ว)

           ในการก่อสร้างหอคอยแห่งนี้ ใช้คนงานก่อสร้างถึง 300 คน เพื่อประกอบเหล็กจำนวน 18038 ชิ้นเข้าด้วยกัน โดยใช้หมุดถึง 2.5 ล้านตัว ความเสียงที่จะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างสูงมาก เนื่องจากหอไอเฟลแตกต่างจากตึกสูงในปัจจุบันตรงที่เป็นหอเปลือย ไม่มีจำนวนชั้น อย่างไรก็ตามมีการเตรียมตัวรักษาความปลอดภัยในการก่อสร้างอย่างเต็มที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในการก่อสร้างเพียงคนเดียวเท่านั้น(จริงอ่ะป่าวเนี่ย)

           ในระหว่างการก่อสร้าง หอไอเฟลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงรูปร่างของหอคอย Gustave Eiffel ถูกกล่าวหาว่าพยายามสร้างงานศิลปะที่ดูแล้วไม่มีศิลปะ การก่อสร้างให้หอคอยแกว่งตัวได้ไม่คำนึงถึงหลักวิศวกรรมศาสตร์(แต่เราว่ามันก็สวยดีนะ) แต่อย่างไรก็ตาม Gustave Eiffel ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากงานก่อสร้างสะพาน กลับเป็นผู้ที่เข้าใจความสำคัญของแรงลม และเป็นผู้ที่รู้ว่าการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดในโลก(ในขณะนั้น) จะต้องแน่ใจว่ามันต้องต้านทานลมได้ และในตอนต้นศตวรรษที่ 20 หอไอเฟลถูกใช้เป็นศูนย์รับส่งสัญญานวิทยุ เมื่อปี 1909 ศูนย์วิทยุถูกก่อสร้างขึ้นอย่างถาวรที่หอไอเฟล และยังปรากฎให้เห็นในปัจจุบัน

     



      



    


     

    




ตราแผ่นดินของฝรั่งเศส

ในปัจจุบันนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2496 แม้ตราดังกล่าวจะไม่มีสถานะทางกฎหมายว่าเป็นตราแผ่นดินอย่างเป็นทางการเลยก็ตาม ดวงตรานี้เป็นตราที่ปรากฏการใช้ในปกหนังสือเดินทางของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีจุดกำเนิดจากการที่กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสกำหนดให้ใช้ตรานี้เป็นสัญลักษณ์สำหรับหน่วยงานทางการทูตของฝรั่งเศสนับตั้งแต่ พ.ศ. 2455 เป็นต้นมา ออกแบบโดยประติมากรชื่อ จูลส์-เคลมองต์ ชาแปล็ง (Jules-Clément Chaplain)
ในปี พ.ศ. 2496 องค์การสหประชาชาติได้ขอให้ประเทศฝรั่งเศสส่งสำเนาภาพตราแผ่นดินของตน เพื่อจัดแสดงร่วมกับภาพตราแผ่นดินของชาติสมาชิกอื่นๆ ในห้องประชุมขององค์การสหประชาชาติ คณะกรรมการร่วมที่รัฐบาลฝรั่งเศสแต่งตั้งในการนี้จึงให้โรแบรต์ หลุยส์ (Robert Louis) นักออกแบบตราสัญลักษณ์ ทำการเขียนตราทางการทูตข้างต้นขึ้นใหม่ตามแบบของตราเดิม อย่างไรก็ตาม ตรานี้รัฐบาลฝรั่งเศสก็ไม่ได้ออกกฎหมายรับรองให้ใช้เป็นตราแผ่นดินอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
สัญลักษณ์ในตราดังกล่าวนี้ประกอบด้วย
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 รัฐบาลฝรั่งเศสได้กำหนดตราสัญลักษณ์ใหม่สำหรับรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งได้รวมเอาคำขวัญของสาธารณรัฐ สีธงชาติ และรูปมารีแอนน์ ซึ่งเป็นรูปสัญลักษณ์เชิงบุคลาธิษฐานของสาธารณรัฐ (Republic's personification) เข้าไว้ด้วยกัน

ลำดับภาพตราแผ่นดินสมัยต่างๆ


ภาพตราแผ่นดินคำอธิบายสมัยแห่งการใช้
Arms of the Kingdom of France (Ancien).svgFrance Ancien (ตราของกษัตริย์ฝรั่งเศสยุคโบราณ) ใช้ตราโล่พื้นสีน้ำเงินลายเฟลอร์เดอลีส์สีเหลืองไม่จำกัดจำนวนดอกก่อน พ.ศ. 1848
พ.ศ. 1871-1919
Arms of the Kingdom of France & Navarre (Ancien).svgFrance Moderne (ตราของกษัตริย์ฝรั่งเศสยุคโบราณ) ซีกซ้ายใช้ตราลักษณะคล้ายตราโล่เดิม และ ซีกขวาใช้ตราโล่แห่งนาวาร์ (ตราโซ่สีทองบนพื้นโล่สีแดง) ตราโล่แห่งนาวาร์นี้ มีที่มาจากพระเจ้าอองรีที่ 4พ.ศ. 1848-1871
Arms of the Kingdom of France (Moderne).svgFrance Moderne (ตราของกษัตริย์ฝรั่งเศสยุคใหม่) ใช้ตราลักษณะคล้ายตราโล่เดิม แต่ลดจำนวนเฟลอร์เดอลีส์ลงเหลือเพียง 3 ดอกเท่านั้นพ.ศ. 1919-2058
Coat of Arms of Kingdom of France.svgFrance Moderne (ตราของกษัตริย์ฝรั่งเศสยุคใหม่) ตราอาร์มสีน้ำเงิน ภายในมีดอกเฟลอร์เดอลีส์ 3 ดอก ภายใต้มงกุฎประกอบสายสร้อยเครื่องราชอิสริยาภรณ์พ.ศ. 2058-2132
Grand Royal Coat of Arms of France & Navarre.svgตราแผ่นดินราชอาณาจักรฝรั่งเศส แสดงภาพตราโล่แห่งนาวาร์ (ตราโซ่สีทองบนพื้นโล่สีแดง) อยู่เคียงกับตราเฟลอร์เดอลีส์สีเหลืองบนพื้นโล่สีน้ำเงิน ตราโล่แห่งนาวาร์นี้ มีที่มาจาก พระเจ้าหลุยส์ที่ 10 และ พระเจ้าชาลส์ที่ 4 ซึ่งเคยเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นนาวาร์มาก่อนพ.ศ. 2132-2332
Emblem of Napoleon Bonaparte.svgตราประจำตัวของนโปเลียน โบนาปาร์ต แสดงภาพนกอินทรีพ.ศ. 2332-2347
Imperial Coat of Arms of France (1804-1815).svgตราแผ่นดินจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 แสดงภาพนกอินทรีพ.ศ. 2347-2357
Grand Royal Coat of Arms of France.svgตราแผ่นดินฝรั่งเศส ยุคราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู ประกอบเข้ากับรูปมงกุฎแห่งบูร์บงที่ส่วนบนสุดของตรา ปัจจุบันยังคงใช้เป็นตราของเชื้อสายกษัตริย์ฝรั่งเศสราชวงศ์บูร์บง (สายตรง)พ.ศ. 2357-2373
Coat of Arms of the July Monarchy (1831-48).svgตราแผ่นดินฝรั่งเศสยุคกษัตริย์เดือนกรกฎาคม ใช้ตราประจำพระองค์พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์พ.ศ. 2373-2391
Coat of Arms Second French Empire (1852–1870).svgตราแผ่นดินจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ใช้ภาพนกอินทรีเช่นเดียวกับยุคจักรวรรดิที่ 1พ.ศ. 2395-2413
Francecoatofarms1898-2.pngตราแผ่นดินอย่างไม่เป็นทางการ ของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ลักษณะเป็นตราขวานมัดหวาย (fasces) ประกอบธงชาติพร้อมเสาธงไขว้กัน มีอักษรย่อ "RF" บรรจุอยู่ในสายสะพายเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ รองรับด้วยช่อใบลอเรลและกิ่งโอ๊กไขว้พ.ศ. 2441-2496
Informal emblem of the French State (1940–1944).svgตราประจำตำแหน่งของฟีลิป เปแต็ง ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดแห่งรัฐฝรั่งเศส โดยใช้เป็นตราแผ่นดินอย่างไม่เป็นทางการ (ฝรั่งเศสเขตวีชี), ลักษณะเป็นขวานประกอบคำขวัญประจำชาติว่า Travail, Famille, Patrie (งาน ครอบครัว ปิตุภูมิ). สำหรับประทับบนเอกสารทางราชการ.พ.ศ. 2483-2487
Coat of arms of France (UN variant).pngสำเนาภาพตราแผ่นดิน (ไม่เป็นทางการ)
เพื่อจัดแสดงร่วมกับภาพตราแผ่นดินของชาติสมาชิกอื่นๆ ในห้องประชุมขององค์การสหประชาชาติ ลักษณะเป็นตราช่อกิ่งโอ๊ก กับ ขวานมัดหวาย บนโล่วงรีพื้นสีฟ้า ประกอบสายสร้อยเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
พ.ศ. 2441/พ.ศ. 2496-2538
Armoiries république française.svgตราแผ่นดินอย่างไม่เป็นทางการ ออกแบบโดย โรแบรต์ หลุยส์ (Robert Louis) นักออกแบบตราสัญลักษณ์ โดยได้นำตราดังกล่าวประกาศใช้ในสมัยของประธานาธิบดี ฌัก ชีรัก (2538–2550) จนถึงปัจจุบัน.พ.ศ. 2538–ปัจจุบัน


อ้างอิง[แก้]

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อาหารฝรั่งเศส

อาหารฝรั่งเศส
าหารฝรั่งเศสได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นสิ่งที่พิเศษ จากผู้ที่ชื่นชอบการรับประทานอาหาร และผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารทั่วโลก ยิ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้คณะกรรมการยูเนสโก (องค์การสหประชาชาติศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม)ได้โหวตให้อาหารการกินของฝรั่งเศส(กาสโทรโนมิก มีล) เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ในบรรดา 47 วัฒนธรรม นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ด้านอาหารได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2003 เป็นคู่ขนานกับมรดกโลก
ขณะที่ได้รับข่าวดีใหม่นี้ ซึ่งเป็นเกียรติแก่ประเทศฝรั่งเศส เราเกรงว่าจะสร้างภาพลักษณ์ให้อาหารฝรั่งเศส มีความ พิเศษ หรู เหมาะสำหรับคนเฉพาะกลุ่ม มากกว่าที่จะเป็นสำหรับคนทั่วไป เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด ต่อไปนี้เราจึงนำเสนอในด้านที่ถูกต้อง เหตุใดคณะกรรมการยูเนสโกจึงได้ลงมติเช่นนั้น
ว่าด้วย เรื่องอาหารการกิน(กาสโทรโนมิก มีล) ยูเนสโก ได้หมายถึง จารีตประเพณีที่ได้ออกแบบมาของสังคม เพื่อ การเฉลิมฉลองช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตของบุคคลและกลุ่ม ผ่านศิลปะการกินและการดื่ม ที่ดี ใช้เวลาร่วมกันและเสริมสร้างมิตรภาพ ระหว่างคอร์สอาหารที่หลากหลาย มื้อแห่งความสุข ตั้งแต่เสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนอาหาร, อาหารเรียกน้ำย่อย, อาหารจานหลัก, สลัด, ชีส, ขนมและไวน์ นั่นคือพิธีการรับประทานทั้งหมด ,ความลงตัวของอาหาร และไวน์ ลำดับการรับประทานอาหาร การจัดโต๊ะ การพูดคุย ซึ่งอาหารการกินแบบฝรั่งเศสนี้ เป็นสิ่งที่ยูเนสโก เล็งเห็นการอนุรักษ์เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น สำหรับเรา ที่อาศัย ในจังหวัดเชียงใหม่ มี ร้านอาหารฝรั่งเศส ที่ตกแต่งหรูหรา นี่คงเป็นสาเหตุ ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าอาหารฝรั่งเศสเข้าถึงยาก ซึ่งทั้งคุณมาร์โค จากร้าน Chez Marco และคุณ ชอง จาก La Terrasse แสดงแง่คิดอีกมุมมอง ดูจากเมนูของพวกเขา สนนว่ามีราคาที่ความเหมาะสมและบ่อยๆบางรายการยังถูกกว่าอาหารอิตาเลี่ยน อาหารฝรั่งเศสใครๆก็รับประทานได้ และเงิน ไม่ใช่ปัญหา
ในความเป็นจริง ร้านอาหารฝรั่งเศสก็ มีอาหารอื่นๆไว้บริการเหมือนร้านทั่วๆไปเช่น สเต็ก เมนูทะเล สลัด ฯลฯ อะไร คืออาหารฝรั่งเศสแท้ บริบทของการรับประทานอาหารอย่างที่องค์กรยูเนสโกชี้ให้เห็นก็คือ การผสมผสานของอาหารแต่ละจาน และเครื่องดื่ม คือจุดสำคัญ
ดังนั้นอาหารฝรั่งเศสที่สมบูรณ์แบบประกอบด้วย?คุณ ชอง จาก La Terrasse ได้ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นถึงนิสัยการรับประทานอาหารแบบฝรั่งเศส
โดยทั่วไปจะเริ่มด้วย การดื่มเแอลกอฮอล์ก่อนอาหาร ตามด้วยอาหารเรียกน้ำย่อยเช่นซุปผักและเนื้อสัตว์บด ปาเต (มีส่วนผสมของเนื้อ และไขมัน) หลังจากนั้นมาถึงอาหารจานหลักได้แก่ ปลาหรือเนื้อ หรือทั้งสองอย่างเสิร์ฟพร้อมสลัดผักเขียว อาหารจานหลักมีความหลากหลายและซับซ้อน ปรุงแต่ง โดยเชฟ สองเมนูที่คนนิยม คือ เบอฟฺ บัวร์กิงอน และ ค็อก โอ เวอน สตูว์เนื้อ และไก่ต้มในไวน์แดงส่วนเครื่องเคียงที่ต้องมีคือ มันฝรั่งบด หรือผัด และ ต้องเสิร์ฟขนมปังตลอด หลังจากอาหารจานหลักสิ่งที่ขาดไม่ได้คือชีส มีรายงานมาว่าฝรั่งเศสมีชีสมากกว่า 1000 ชนิด แต่ที่ได้รับความนิยม คือ คะมอมแบร์ อาจตามด้วยขนมหวาน ท้ายสุดนี้ ที่จะต้องกล่าวถึง เครืองดื่มที่คนฝรั่งเศสดื่มเวลารับประทานอาหาร คือน้ำเปล่า และไวน์เท่านั้น ไวน์ช่วยให้รับรู้รสชาดอาหารได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีหลากหลายชนิด แต่เราสามารถเลือกดื่ม เฮาส์ไวน์ถือว่ารสชาดดีทีเดียว
เรื่อง ของอาหารฝรั่งเศสทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ เราเกือบลืมสาธยายลักษณะอันโดดเด่นของการรับประทานอาหารฝรั่งเศส คงเป็นในเรื่องความโรแมนติก ซึ่งคุณอาจต้องเก็บไว้ในใจเพื่อเป็นทางเลือก ในการมองหาสถานที่รับประทานอาหารในวันวาเลนไทน์ที่ใกล้จะถึง
ฟรัวกรา
ตับห่าน หรือเรียกอีกชื่อว่า”ฟัวกรา”
ฟัวกรา (ฝรั่งเศส: Foie gras [fwɑ gʁɑ]) แปลเทียบเคียงว่า fat liver คือตับห่านหรือเป็ดที่ถูกเลี้ยงให้อ้วนเกิน ฟัวกราได้ชื่อว่าเป็นอาหารฝรั่งเศสที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับทรัฟเฟิล มีลักษณะนุ่มมันและมีรสชาติที่แตกต่างจากตับของเป็ดหรือห่านธรรมดา
ฟัวกราส์เป็นอาหารราคาแพง ราคาเริ่มต้นที่ เจ็ดสิบยูโรต่อกิโล ไปเรื่อย ๆ เคยเห็นสูงสุดที่ร้อยห้าสิบยูโร แต่คงมีสูงกว่านี้ แต่ยังแพงน้อยกว่าไข่ปลาคาเวียร์ รสชาติก็คงตามราคา กินตามงานเลี้ยง และร้านอาหารที่มีในเมนูที่สั่งบ้าง แต่บ่อยหรอก โดยฟัวกราส์ ถ้าคุณภาพดี เนื้อตับจะแน่น เนื้อละเอียด นุ่มลิ้นไม่ต้องเคี้ยว ใช้ลิ้นดันให้ละลายในปากได้
การที่จะทำฟัวกราส์สักชิ้นนั้นส่วนใหญ่มักใช้เป็ด Moulard ขุน และเมืองที่ขึ้นชื่อทำตับห่านมากที่สุดคือเมือง Strassburg เนื่องจากเมืองนั้นเป็นผู้ผลิตหลักของผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนี้
ฟัวกราส์เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงมาก เป็นที่รู้จักกันดีในรสชาติละเอียดอ่อนบวกกับฝีมือการทำอาหารฝรั่งเศสทำให้รสชาติของมันไม่สามารถบรรยายด้วยคำพูด ทำให้ตับห่านฟัวกราส์ที่ออกมาวางขายแต่ละครั้งมักขายหมดไปอย่างรวดเร็ว
ฟัวกราส์นั้นเป็นอาหารชั้นเลิศที่สุดของฝรั่งเศส ซึ่งในประเทศฝรั่งเศสนั้นแบ่งรูปแบบของอาหาร เป็นลำดับชั้น คือ
1. Haute Cuisine อาหารที่ปรุงอย่างหรูหราสำหรับคนร่ำรวยใช้เวลาในการเตรียมนาน และเมื่อเสิร์ฟก็ต้องตกแต่งอย่างสวยงาม
2. Cuisine Bougeoise อาหารที่ทำกินกันเองในบ้าน แต่ใช้เครื่องปรุงที่มีคุณภาพ
3. Nouvelle Cuisine อาหารแนวใหม่ใช้เครื่องปรุงธรรมชาติแบบดูแลสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจลดน้ำหนัก
4. Cuisine des Province อาหารพื้นบ้านชนบทใช้เนื้อสัตว์และผักนานาชนิด โดยไม่แปรรูปให้วิจิตรพิสดาร
ใช่ว่าฟัวกราส์ทุกชิ้นจะเป็นของชั้นดีที่สุด มีบ้างที่การขุนเป็ดอาจไม่ได้ฟัวกราส์ชิ้นดี และล้มเหลวเป็นตับคุณภาพต่ำ ซึ่งฟัวกราส์คุณภาพต่ำเหล่านั้นจะถูกนำไปปรุงเป็นอหารชนิดอื่น(ที่คุณภาพต่ำ) เช่นขนมปังปิ้ง ย่าง ไอศกรีม ฯลฯ
ต้นกำเนิดฟัวกราส์แท้ๆ ไม่ใช้ฝรั่งเศส เพราะจากประวัติศาสตร์โลกพบว่าการเลี้ยงขุนสัตว์ปีกด้วยหลอดอาหารที่มีอายุเก่าแก่พบว่ามันมีมาตั้งแต่ 2500 BC มาแล้ว โดยในประเทศอียิปต์คนโบราณเริ่มขุนนกโดยการสอดหลอดใส่อาหารบังคับให้มันอ้วน โดยหลักฐานอยู่ในในสุสานของ Saqqara ที่Mereruka มีภาพผนังรูปคนกำลังบังคับนกให้กินอาหารทางหลอดอาหาร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศอียิปต์ถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีการรู้จักวิธีนี้มานานจากนั้นักกวีกรีกชื่อ Cratinus ได้เขียนเกี่ยวกับการขุนอาหารนี้เช่นกันโดยเล่าว่าประเทศอียิปต์มีชื่อเสียงและต้นกำเนิดการขุนอ้วน ต่อมา361 BC เมื่อกษัตริย์เมืองสปาตาชื่อ Agesilaus ได้ไปเยี่ยมประเทศอียิปต์ใน และเขาก็สนใจการขุนอาหารแบบนี้เลยเผยแพร่เข้าไปยุโรปในกาลต่อมา และมันก็เผยแพร่ไปทั่วโลก เช่น สหรัฐ และจีนในที่สุด
อย่างไรก็ตามฟัวกราส์ในแต่ละประเทศนั้นไม่เหมือนกัน การขุนอาหารก็ต่างกันด้วยเช่นใช้ลูกพิชในการขุน ใช้อาหารหมาในการขุน หรือพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น ฯลฯ ซึ่งอาหารที่แต่ชนิดทำให้สัตว์ที่กินมีการขยายของตับต่างกัน
ใน พ.ศ. 2548 ทั่วโลกมีการผลิตฟัวกราประมาณ 23,500 ตัน ในจำนวนนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตมากที่สุดคือ 18,450 ตัน หรือร้อยละ 75 ของทั้งหมด โดยร้อยละ 96 ของฟัวกราจากฝรั่งเศสมาจากตับเป็ด และร้อยละ 4 มาจากตับห่าน ประเทศฝรั่งเศสบริโภคฟัวกราใน พ.ศ. 2548 เป็นจำนวน 19,000 ตัน[1]
หลังจากอาณาจักรโรมันนำวิธีการขุนเป็ดด้วยหลอดอาหารนั้นมาเผยแพร่ ปรากฏว่าช่วงแรกไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากชาวไร่ชาวนายุคกลางฝรั่งเศสส่วนใหญ่เลี้ยงหมูส่วนใหญ่ กว่าที่ยุโรปจะค้นพบมันก็ต้องรอถึงศตวรรษต่อมา โดยมีชาวยิวเป็นผู้ซึ่งเรียนรู้วิธีของขยายตับของห่านและขายมันให้พวกโรมันหรือชาวบ้านในยุโรป ซึ่งชาวยิวพวกนี้เองที่เป็นคนช่วยเผยแพร่วิธีทำอาหารนี้ไปทั่วยุโรปโดยการอพยพไปทางเหนือและทางตะวันตกหรือแดนที่แดนไกล โดยใช้นำน้ำมันหมู, น้ำมันต้นมะกอก และเนยเหลวในการขุน และการขุนด้วยสัตว์นี้ก็เริ่มโต้เถียงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาแล้วด้วยเนื่องจากศาสนายิวและศาสนาบางประเทศไม่ยอมรับวิธีการขุนสัตว์แบบนี้เพราะเสมือนเป็นการทรมานสัตว์และทำให้สัตว์พิกลพิการ
ต่อมาในปี 1570 Bartolomeo Scappi คนครัวของพระสันตะปาปา Pius V ได้คิดค้นทำฟัวกราส์แบบมาตรฐานขึ้นโดยเริ่มใช้ห่านในการขุนเพื่อเอาตับ มีการเขียนหนังสือบรรยายในการทำและใช้มาตรฐานการตวงแบบชั่งอาหารที่ให้เป็ดกิน ซึ่งต่อมาตำราเล่มนั้นได้ถูกนับมาปรับปรุงโดยพ่อครัวที่มีชื่อเสียงหลาย และคำว่าฟัวกราส์ เป็นคำที่มาจากพ่อครัว Michael Apafi (ใน 1680) พ่อครัวของเจ้าชายTransylvania ตั้งชื่ออาหารชนิดนั้น(คำว่าฟัวกราส์อาจมีมาก่อนพ่อครัวคนนี้ตั้งก็ได้) รวมไปถึงวิธีการทำอาหารโดยใช้การย่างหรืออบอาหาร และเครื่องปรุงต่างๆ และมีการพัฒนาปรับปรุงเป็นฟัวกราส์ชั้นเลิศในที่สุด
ทุกวันนี้ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตฟัวกราส์มากที่สุด และผู้บริโภคฟัวกราส์มากที่สุดด้วย นอกกจากนี้ยังมีประชาชาติชาวยุโรปอื่น สหรัฐ และจีนซึ่งเป็นผู้ผลิต-บริโภคฟัวกราสต์เป็นอันดับต้นๆ ของจากสถิตทั่วโลกมีการผลิตฟัวกราส์ประมาณ 23,500 ตัน ในจำนวนนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตมากที่สุดคือ 18,450 ตัน หรือร้อยละ75 ของทั้งหมด โดยร้อยละ 96 ของฟัวกราส์จากฝรั่งเศสมาจากตับเป็ด และร้อยละ 4 มาจากตับห่าน ประเทศฝรั่งเศสบริโภคฟัวกราส์ใน พ.ศ.2548 เป็นจำนวน 19,000 ตัน
ประเทศฮังการีผลิตฟัวกราส์มากเป็นอันดับสอง และส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 1,920 ตันใน พ.ศ. 2548 โดยเกือบทั้งหมดส่งออกไปที่ฝรั่งเศส และรองลงมาคือออสเตรเลีย, ประเทศอาร์เจนตินา สหรัฐและจีนลดหย่อนลงมา โดยฟัวกราส์ดิบจะแยกประเภทเป็นชั้น B หรือC
ฟัวกราส์ที่ถูกกฎหมายนั้นจะมีราคาแพงมากซึ่ง ในฝรั่งเศสฟัวกราส์ตอนแรกนั้นมันจะอยู่ในบล็อกแม่พิมพ์เพื่อคงรูป ส่วนการเตรียมทำอาหารจะถูกแบ่งขายใส่ในแก้ว หรือโลหะเพื่อการเก็บรักษาระยะยาว
โดยปกติฟัวกราส์สด ไม่สามารถหาได้ในฝรั่งเศสในวันคริสต์มาสเพื่อมันถูกขายหมดอย่างรวดเร็ว ซึ่งสถานที่ที่จะหาอาหารชนิดนี้ได้ก็คือห้างใหญ่ๆ ในเมืองหลวงฝรั่งเศสเท่านั้น
คราวนี้มาถึงวิธีการทรมานสัตว์เพื่อได้ฟัวกราส์บ้าง………..
อย่างที่ว่าปกติชาวฝรั่งเศสจะใช้เป็ดพันธุ์ มัวลาร์ด(Moulard) ในการผลิตฟัวกราส์ ซึ่งเป็ดพันธุ์ มัวลาร์ด นั้นเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างเป็ดเพศชาย มัสโควี่(muscovy)และเป็ดเพศหญิง พีคิน (pekin )โดยทั่วไปเขาจะจับเป็ดชนิดนั้นขังในกรงแคบๆ ไม่ให้มันเดินมากกว่าจะปล่อยในพื้นที่โล่งๆ เพราะพวกเขาไม่อยากให้เป็นที่ทำฟัวกราส์นั้นออกกำลังกาย
พื้นฐานการเลี้ยงอาหารโดยหลอดใส่อาหารเพื่อได้ฟัวกราส์นั้นเรียกรวมๆ ว่า gavage ซึ่งต่อมาโต้เถียงจากหลายๆ ฝ่าย ในเรื่องการทรมานสัตว์ เพราะเพื่อให้ได้มาซึ่ง ฟัวกราส์ ห่านที่ขุนจะทรมานมาก คนเลี้ยงห่านจะให้ห่านกินอาหารเข้าไปเยอะ ๆ ห่านจะได้โต วิธีการให้มันกินเยอะ ๆ ก็คือ จับห่านมาบีบคอให้อ้าปาก แล้วเอาอาหารมากรอกโดยการเอาหลอดอาหารใส่เข้าไปในคอห่าน ใส่จากทางปาก เมื่อได้ระยะที่ต้องการก็นำมาฆ่า ผ่าท้องก็จะได้ตับห่านสีขาว (หรือตับเป็ด) ที่มีขนาดโตผิดปกติจากการให้อาหารพิเศษบางอย่างเพื่อให้ตับทำงานหนัก
ฟัวกราส์เป็นอาหารฟุ่มเฟือย ขนาดในฝรั่งเศสจะบริโภคฟัวกราส์ในโอกาสพิเศษเท่านั้นเช่นวัน คริสต์มาสหรือเวลาเย็นของปีใหม่แต่ในบางพื้นที่ของฝรั่งเศสฟัวกราส์ถูกเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของวิธีการผลิตในปี1950

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

   วันชาติของฝรั่งเศส (La Fête Nationale)

วันชาติฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันแห่งการปฎิวัติการปกครองจากระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยประชาชนทั่วทั้งประเทศได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองแบบยุกโบราณจนกระทั้งได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรกจากบุกเข้าทลายคุกบาสติลที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ประชาชน เมื่อ 209 ปีก่อนและนำไปสู่การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จ โดยสมัชชาแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างกฏหมายฉบับใหม่ที่ยกเลิกการให้ความมีเอกสิทธิ์ ขจัดเรื่องสินบนและล้มเลิกระบบฟิวดัล(ระบบศักดินา) จากนั้นต่อมาจึงมีการจัดงานฉลองแห่งชาติขึ้นเรียกว่า “The Feast of the Federation” เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์จลาจลที่กองกำลังแห่งชาติจากทั่วประเทศได้เดินทางรวมพลกันที่ “Champs-de-Mars” ในกรุงปารีส

             แต่พอหลังจากนั้นการจัดงานฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ของวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2332 ก็ต้องหยุดไปเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงไม่สงบเกิดสงครามปฏิวัติขึ้นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ.2335-2345 และมาในสมัย “the Third Republic*”นี้เอง รัฐบาลจึงได้มีความคิดที่จะรื้อฟื้นการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ โดยมีการผ่านร่างกฎหมายฉบับเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2423 ขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น “วันชาติฝรั่งเศส”และได้จัดงานเฉลิมฉลองครั้งแรกขึ้นในปีเดียวกันนั้น

           ทั้งนี้งานจะเริ่มตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13 โดยจะมีการแห่คบเพลิงและล่วงเข้าวันรุ่งขึ้นเมื่อระฆังตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ หรือเสียงปืนดังขึ้นนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่างานฉลองได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ เริ่มจากริ้วขบวนการสวนสนามของเหล่าทัพ จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลากลางวันประชาชนจะร่วมฉลองด้วยการเต้นรำอย่างรื่นเริงสนุกสนานไปตามท้องถนนและมีการจัดเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกจนถึงเวลาค่ำ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการจุดพลและการละเล่นดอกไม้ไฟที่ถือประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสร้างความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมายที่จัดขึ้นทั่วประเทศทั้งการจัดการแข่งขันกีฬา การจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้า โดยไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดจะละเลยไม่นึกถึงและร่วมฉลองในวันสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้