วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

หนีร้อน ท่องทะเลที่ เกาะเต่า

เกาะเต่า

เกาะเต่า

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก E-Marketing กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 

          อากาศร้อน ๆ ทีไร ทำไมหัวใจมักจะเรียกร้อง สายลม แสงแดดและเกลียวคลื่น ริมชายทะเลทุกทีก็ไม่รู้ แถมที่เที่ยวแต่ละแห่งก็น่าหลงใหล ชวนให้ลองเข้าไปสัมผัสด้วยตา รับรู้ด้วยหูกันเสียจริง เฮ้อ...เลยเลือกไม่ถูกกันเลยนะว่าจะไปเที่ยวชายทะเลที่ไหนดี? 
          แต่สำหรับใครที่ต้องการหนีความวุ่นวายในสังคมเมือง ไปสัมผัสเม็ดทรายริมชายหาด ท่องเที่ยวในดินแดนใต้ท้องทะเล ลองมาปลีกวิเวกไปเป็นชาวเกาะดูไหมคะ ตามจุดหมายปลายทางของเรา...เกาะเต่านี่เอง

 ความเป็นมา 

          เกาะเต่า อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะเต่ามีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว มีพื้นที่ 12,936 ไร่ ประกอบด้วยเกาะที่สำคัญด้วยกัน 2 แห่งคือ เกาะเต่าและเกาะนางยวน ห่างจากเกาะพะงันไปทางเหนือประมาณ 45 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นเกาะที่อยู่ใกล้ที่สุด เมื่อเทียบกับระยะห่างจากปากน้ำชุมพร 85 กิโลเมตร และห่างจากอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 120 กิโลเมตร  
          ด้วยความที่เป็นเกาะที่อยู่ไกลจากแผ่นดินใหญ่มาก ในอดีตบริเวณชายหาดจึงเต็มไปด้วยเต่าที่มาหาแหล่งวางไข่เป็นจำนวนมาก เพราะเงียบสงบและไม่มีใครมาอยู่อาศัย ภายหลังเมื่อเริ่มมีผู้คนเข้ามาทำกินบนเกาะและค้นพบแนวประการังที่งดงามรอบเกาะ จึงพัฒนากลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็นแหล่งดำน้ำที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้ความสนใจมากที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะเป็นแหล่งดำน้ำที่ใหญ่เป็นอันดับสองโลกรองจากออสเตรเลีย  

เกาะเต่า

 เกาะเต่าในอดีต
 

          เหตุเพราะเกาะเต่านั้นอยู่ห่างไกลมาก ยากที่จะเดินทางไปถึง ทำให้ในอดีตช่วงหนึ่งของเกาะแห่งนี้เป็นสถานที่คุมขังนักโทษการเมืองเช่นเดียวกับเกาะตะรุเตา โดยส่วนใหญ่เป็นนักโทษการเมืองในคดีกบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 และคดีพยายามก่อการกบฏ ใน พ.ศ. 2481   

          นักโทษที่ถูกคุมขังนั้นส่วนใหญ่อยู่ด้วยความลำบากเพราะน้ำจืดบนเกาะมีอยู่อย่างจำกัด ภายหลังมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ นักโทษที่ถูกจับกุมในคดีกบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 และคดีก่อกบฏ ในปี พ.ศ.2481  แต่เดิมจึงได้รับการปลดปล่อยในราวปี พ.ศ. 2487 

 กิจกรรมท่องเที่ยวน่าสนใจบนเกาะ 

          บริเวณชายทะเลรอบเกาะเต่าถือว่าเป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังที่มีหลากหลายมาก นักท่องเที่ยวที่ชอบดำน้ำจึงสามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำลึกและน้ำตื้น 
เกาะเต่า

           จุดดำน้ำที่เกาะเต่า
 

         1. กองหินชุมพร (Chumporn Pinnacle) เป็นกองหินใต้น้ำ ห่างจากเกาะเต่าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความลึกสูงสุดประมาณ 30-40 เมตร เหมาะกับนักดำน้ำที่มีประสบการณ์ 

          2. หินใบ (Sail Rock) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะเต่า อยู่ตรงกลางระหว่างเกาะเต่ากับเกาะพะงัน เป็นกองหินที่โผล่พ้นน้ำ ความลึกประมาณ 24 เมตร มีฝูงปลาให้นักดำน้ำได้ศึกษาหลากหลายชนิด 

          3. กองหินตุ้งกู (South west pinnacle) เป็นกองหินใต้น้ำอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเต่าครับ ความลึกสูงสุดประมาณเกือบ 30 เมตร 

  เล่นน้ำริมหาด 

          หาดโฉลกบ้านเก่า อยู่ในเขตหมู่ที่ 3 เกาะเต่า เป็นอ่าวทางทิศใต้ของเกาะ หาดทรายเนียนขาวยาวราว 500 เมตร ล้อมรอบด้วยโขดหินสวยงาม และเป็นจุดดำน้ำที่นิยมเป็นอันดับสอง มีร้านดำน้ำหลายร้าน ที่พัก ร้านอาหาร บริษัททัวร์ บาร์บนถนนเส้นหลัก หาดสวยและเวลาน้ำลงจะสามารถนอนอาบแดดได้ เนื่องจากหาดโฉลกบ้านเก่าเป็นศูนย์รวมที่ดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะเต่า ทำให้มีเรือวิ่งเข้าออกตลอดทั้งวัน ทำให้หาดนี้ไม่ค่อยเงียบนัก เรือที่วิ่งเข้าออกทำให้น้ำขุ่น โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกของหาด
เกาะเต่า

          อ่าวหินวง เป็นอ่าวที่มีปลายแหลมทั้ง 2 ข้างโค้งเข้าหากัน อ่าวนี้จะไม่มีหาดทราย จะมีหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่เรียงรายทับซ้อนกันจนได้ชื่อว่า อ่าวหินวง อีกทั้งยังตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก จึงนับว่าอ่าวแห่งนี้เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามที่สุดบนเกาะเต่าก็ว่าได้ และมีเพียงรีสอร์ทที่เป็นบังกะโลไม่กี่แห่ง คุณสามารถนอนไกวเปลและชื่นชอบบรรยากาศสงบเงียบ
เกาะเต่า

          แหลมเทียน เป็นหาดทรายขาวสวยงาม ริมหาดมีต้นไม้ชายทะเล ที่ชาวบ้านเรียกว่า "ต้นเทียน" ขึ้นเรียงรายตลอดหาด  เป็นแหลมเล็ก ๆ ความยาวประมาณ 350 เมตร มีก้อนหิน และหาดทราย มีคลื่นซัดเข้าฝั่งเมื่อมีลมพัดมาจากด้านตะวันออก มีคลื่นซัดและไอทะเลพัดเข้ามาทางด้านใต้ของแหลมเทียน ได้รับแสงอาทิตย์ทั้งวัน แหลมเทียนเป็นจุดที่ดำน้ำตื้นและดำน้ำลึก รอบ ๆ หิน มีอุปกรณ์ดำน้ำให้ยืม และมีเรือคายักให้เช่า ทั้งนี้ หาดเทียน อาจถือได้ว่าเป็นจุดประวัติศาสตร์ของเกาะเต่า เพราะเป็นที่ตั้งของบังกะโลแห่งแรกของเกาะเต่า

เกาะเต่า

          อ่าวลึก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเต่า โอบล้อมด้วยเชิงผาและแหลมหิน สถานที่แห่งนี้ถือเป็นสถานที่ที่มีความสงบอีกแห่งหนึ่งของเกาะเต่า และเป็นอ่าวที่มีลักษณะโค้งเว้ามากที่สุดของเกาะเต่า จึงเป็นที่มาของชื่ออ่าว แต่เส้นทางที่จะไปนั้น ลำบาก เป็นถนนลูกรังและลาดชัน ต้องเช่ารถโฟร์วีลเท่านั้นจึงจะไปถึงที่หมายได้

          อ่าวมะม่วง เป็นอ่าวที่ไม่ติดกับอ่าวอื่น อยู่ทางตอนเหนือของเกาะเต่า มีระดับความลึก 10 เมตร ภูมิทัศน์เป็นผาหินสูงมีป่าเขียว ทำให้มองเห็นวิวของอ่าว สีน้ำฟ้าอมเขียวของอ่าวมะม่วงทำให้อยากไปว่ายน้ำและดำน้ำ เป็นจุดดำน้ำที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งบนเกาะ มีรีสอร์ทหรูและแพงกว่าจุดอื่น ๆ บนเกาะเต่า อีกทั้งยังเป็นจุดที่นิยมไปเล่นกีฬาทางน้ำ เช่น ดำน้ำตื้น ดำน้ำลึก และพายเรือคายัก อย่างไรก็ตาม ถนนที่จะไปอ่าวมะม่วงไม่ค่อยได้รับการดูแล ดังนั้นวิธีที่จะเดินทางไปอ่าวมะม่วงได้ดีที่สุดคือใช้เรือหางยาว
เกาะเต่า

          หาดทรายรี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของเกาะเต่า เป็นหาดที่ยาวที่สุดในเกาะเต่า ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร และมีแนวฝั่งเชิงเขาต่อเนื่องอีก 1 กิโลเมตร เกือบจะอยู่ตรงข้ามเกาะนางยวน ซึ่งเป็นที่ที่มีแหล่งบันเทิงทางด้านใต้ของหาด  ตอนเย็น ๆ จะมีแหล่งบันเทิงที่ค่อนข้างมีเสียงดัง สำหรับคนที่นอนหลับยากควรจะเลือกที่พักด้านเหนือของหาด อีกทั้งน้ำยังตื้น ทำให้สามารถเดินไปได้ไกลโดยที่ระดับแค่เอว จึงเหมาะสำหรับการพักผ่อน เล่นน้ำ ชมอาทิตย์อัสดง
เกาะเต่า

           ลานหิน จ.ป.ร.

          ลานหิน จ.ป.ร. ตั้งอยู่บริเวณหาดทรายรีทางด้านตะวันตกของเกาะเต่า เป็นสถานที่ที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อไว้บนแผ่นหินครั้งเสด็จประพาสที่เกาะเต่า เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 1899 นับเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวเกาะเต่าตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน
เกาะเต่า

           จุดชมวิว จอห์น-สุวรรณ
 

          ตั้งอยู่บริเวณอ่าวโฉลกบ้านเก่า ด้านทิศใต้บนเกาะเต่า ใช้เวลาในการเดินเท้าไม่เกิน 20 นาที เส้นทางเดินเท้าสู่จุดชมวิวนั้นค่อนข้างรกและชัน จุดชมวิวนี้จะมองเห็นโค้งอ่าวเทียนออก ที่เว้าเกือบจรดกับอ่าวโฉลกบ้านเก่า ทำให้จุดชมวิวนี้งดงามมากคล้ายกับเกาะพีพีดอน

เกาะเต่า

ศาสนาที่มีอยู่บนโลกนี้

ศาสนาที่มีผู้นับถือในปัจจุบันมี 11 ศาสนา ได้แก่

1.ศาสนาคริสต์ (Christianity)
2.ศาสนาอิสลาม (Islam)
3.ศาสนาพุทธ (Buddhism)
4.ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู (Hinduism)
5.ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism)
6.ศาสนาเชน (Jainism)
7.ศาสนาสิข (Sikhism)
8.ศาสนาเต๋า (Taoism)
9.ศาสนาขงจื๊อ (Confucius)
10.ศาสนาชินโต (Shintoism)
11.ศาสนายิว (Judaism)
พระนามศาสดาในแต่ละศาสนา
ศาสนาคริสต์ : พระเยซู
ศาสนาอิสลาม : พระนบีมูฮัมมัด
ศาสนาพุทธ : พระพุทธเจ้า
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู : ไม่ปรากฎนาม
ศาสนาโซโรอัสเตอร์ : โซโรอัสเตอร์
ศาสนาเชน : มีศาสดา 24 องค์ ศาสดาองค์สุดท้ายชื่อท่านมหาวีระ
ศาสนาสิข : มีศาสดา 10 องค์ ศาสดาองค์แรกชื่อท่านคุรุนานัก
ศาสนาเต๋า : เล่าจื๊อ หรือเล่าสือ หรือเล่าซู (Lao-Tzu)
ศาสนาขงจื้อ : ขงจื๊อ หรือ ขงฟูจื๊อ หรือ ขงฟูสือ
ศาสนาชินโต : ไม่ปรากฎศาสดา ก่อตั้งด้วยการบูชาบรรพบุรุษและบูชาเทพเจ้า
ศาสนายิว : โมเสส
ประเภทของศาสนา
ตามความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. เทวนิยม (Theism) นับถือพระเจ้า เชื่อว่าพระเจ้าเป็นองค์ศักดิ์สิทธิ์ สร้างสรรค์โลกและสรรพสิ่งต่างๆ แบ่งเป็น
ก. เอกเทวนิยม (Monotheism) นับถือพระเจ้าองค์เดียว ได้แก่ ศาสนาสิข ศาสนาเต๋า ศาสนายิว ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม
ข. พหุเทวนิยม (Polytheism) นับถือพระเจ้าหลายองค์ และอาจผสมผสานกับการบูชาธรรมชาติ (Nature worship)ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ศาสนาขงจื๊อ ศาสนาชินโต
2. อเทวนิยม (Atheism) เป็นศาสนาที่ไม่มีการนับถือพระเจ้า คือไม่เชื่อหรือไม่สอนให้เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลกได้แก่ ศาสนาพุทธ และ เชน
คัมภีร์ศาสนา
ศาสนาทุกศาสนา ต่างก็มีคัมภีร์หรือหนังสือซึ่งรวบรวมหลักคำสอนของตนเป็นหลักฐาน มีประวัติความเป็นมาแห่งคัมภีร์ศาสนานั้นๆ ตามความเชื่อของตน คัมภีร์ในแต่ละศาสนามีดังนี้
ศาสนา
จำนวนผู้นับถือ
1. ศาสนาคริสต์
ไบเบิ้ล
2. ศาสนาอิสลาม
อัล-กุรอาน
3. ศาสนาพุทธ
พระไตรปิฎก
4. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ไตรเวท
5. ศาสนาโซโรอัสเตอร์
อเวสตะ
6. ศาสนาเชน
อาคม, กัลปสูตร
7. ศาสนาสิข
ครันถ สาหิพ
8. ศาสนาเต๋า
เต้าเตกเกง
9. ศาสนาขงจื๊อ
เกงทั้ง 5, ซูทั้ง 4
10. ศาสนาชินโต
โกชิกิ และ นิฮอนคิ
11. ศาสนายิว
คัมภีร์เก่า, ทัลมุด, โตราห์
จำนวนผู้นับถือศาสนา
ศาสนา
จำนวนผู้นับถือ
1. ศาสนาคริสต์
2,000,000,000
2. ศาสนาอิสลาม
1,300,000,000
3. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
900,000,000
4. ศาสนาพุทธ
360,000,000
5. ศาสนาเต๋า และ 6.ศาสนาขงจื๊อ
225,000,000
7. ศาสนาสิข
23,000,000
8. ศาสนายูดาหรือยิว
14,000,000
9. ศาสนาชินโต
4,000,000
10. ศาสนาเชน
4,000,000
11. ศาสนาโซโรอัสเตอร์
150,000

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559

ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การตีความลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ แสดงในรูปของพีระมิดโดยมีความต้องการพื้นฐานกว่าอยู่ข้างล่าง[1]
ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (อังกฤษMaslow's hierarchy of needs) เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่เสนอโดย อับราฮัม มาสโลว์ในรายงานเรื่อง "A Theory of Human Motivation" ปี 1943[2] หลังจากนั้นมาสโลว์ยังไปขยายแนวคิดไปรวมถึงข้อสังเกตของเขาเกี่ยวกับความอยากรู้อยากเห็นแต่กำเนิดของมนุษย์ ทฤษฎีของเขาคล้ายกับทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการหลาย ๆ ทฤษฎี ซึ่งทั้งหมดเน้นที่การเติบโตของมนุษย์ในระยะต่าง ๆ

ลำดับขั้น

ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ มักถูกนำเสนอโดยรูปพิระมิด ที่ความต้องการที่มากที่สุด พื้นฐานที่สุดจะอยู่ข้างล่างและความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต (self-actualization) จะอยู่บนสุด
พิระมิดแบ่งออกเป็น 5 ชั้นคร่าวๆของความต้องการต่างๆ คือ ความสมบูรณ์ของชีวิต (self-actualization), ความเคารพนับถือ (esteem), มิตรภาพและความรัก (friendship and love), ความมั่นคงปลอดภัย (security), และความต้องการทางกายภาพ ถ้าความเคารพนับถือ, มิตรภาพและรัก หรือ ความมั่นคงปลอดภัย ขาดพร่องไป แม้ร่างกายจะไม่ได้แสดงอาการใดๆออกมาแต่บุคคลนั้นๆรู้สึกกระวนกระวายและเกร็งเครียด ทฤษฎีของมาสโลว์ยังบอกด้วยว่า ชั้นความต้องการที่พื้นฐานมากกว่าหรืออยู่ข้างล่างของพิระมิด จะต้องได้รับการตอบสนองก่อนที่บุคคลจะเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าต่อความต้องการในระดับที่สูงขึ้นได้

ความต้องการทางกายภาพ

ความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการเพื่อจะอยู่รอดของมนุษย์
ถ้าความต้องการพื้นฐานที่สุดนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง ร่างกายของมนุษย์ก็ไม่สามารถทำงานได้ หรือไม่สามารถทำงานได้ดี
อากาศ น้ำ อาหาร เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในกระบวนการสร้างและสลาย เพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เสื้อผ้าเครื่องนุ่นห่มและ ที่พัก จะให้การปกป้องที่จำเป็นกับมนุษย์ จากสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม สัญชาตญาณและความต้องการทางเพศ ถูกพัฒนามาจากการแข่งขันเพื่อโอกาสในการผสมและสืบพันธุ์

ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย

เมื่อความต้องการทางกายภาพได้รับการตอบสนองในระดับที่พอเพียง ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยจะมีอิทธิพลกับพฤติกรรม ถ้าไม่มีความปลอดภัยทางกายภาพ (จากสาเหตุ เช่นอาชญากรรม สงคราม การก่อการร้าย ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือ ความรุนแรงในครอบครัว) คนอาจมีอาการของความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder) และอาจมีส่งผ่านความเครียดนี้ไปยังคนรุ่นหลังได้ ถ้าไม่มีความปลอดภัยมั่นคงทางเศรษฐกิจ (จากสาเหตุ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ หรือ การขาดโอกาสทางการงาน) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยนี้ อาจปรากฏออกมาในรูปของ การนิยมงานที่มีความมั่นคง กระบวนการร้องทุกข์เพื่อปกป้องบุคคลจากการกลั่นแกล้งของผู้บังคับบัญชา หรือ ปกป้องบัญชีเงินฝาก เรียกร้องนโยบายประกันภัย ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ต่างๆ การเรียกร้องที่พักที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ เป็นต้น
ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย รวมถึง
  • ความมั่นคงปลอดภัยส่วนบุคคล
  • ความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน
  • สุขภาพและความเป็นอยู่
  • ระบบรับประกัน-ช่วยเหลือ ในกรณีของอุบัติเหตุ/ความเจ็บป่วย

ความรักและความเป็นเจ้าของ

เมื่อความต้องการทางกายภาพและความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว ระดับขั้นที่สามของความต้องการมนุษย์คือ ความต้องการเป็นเจ้าของ ความต้องการนี้จะรุนแรงมากในวัยเด็กและบางครั้งอาจจะชนะความต้องการความปลอดภัยได้ในบางครั้ง ดังเห็นได้จากการที่เด็กติดพ่อแม่ที่เป็นอันตราย ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "Stockholm syndrome" การขาดความรักและความเป็นเจ้าของ (อาจมาจาก การขาดความผูกพันจากผู้เลี้ยงดูขณะเป็นทารก (hospitalism), การถูกทอดทิ้ง (neglect), การถูกสังคมรังเกียจหรือกีดกัน (shunning), การถูกขับออกจากกลุ่ม (ostracism) เป็นต้น) อาจมีผลทำให้บุคคลไม่สามารถพัฒนาหรือรักษาความสัมพันธ์ที่สำคัญ (เช่น มิตรภาพ ความรัก ครอบครัว) ไว้ได้
มนุษย์ต้องการที่จะรู้สึกเป็นเจ้าของและถูกยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นในระดับกลุ่มสังคมใหญ่ เช่น สโมสร กลุ่มศาสนา องค์กรสายอาชีพ ทีมกีฬา แก็งส์ หรือ ความสัมพันธ์ทางสังคมเล็กๆ (สมาชิกในครอบครัว คู่ชีวิต พี่เลี้ยง เพื่อนสนิท) มนุษย์ต้องการที่จะรักและถูกรักจากคนอื่น ถ้าขาดความต้องการเรื่องนี้ไป หลายๆคนกลายเป็นคนขี้เหงา มีปัญหาการเข้าสังคม และ เป็นโรคซึมเศร้า ความต้องการเป็นเจ้าของนี้ บ่อยครั้งที่สามารถจะชนะความต้องการทางกายภาพและความมั่นคงปลอดภัยได้ ขึ้นกับแรงกดดันจากคนรอบข้าง (peer pressure) เช่น คนที่มีอาการ anorexic (เบื่ออาหาร) อาจละเลยความต้องการอาหาร และความปลอดภัย เพียงเพื่อได้ความต้องการควบคุมและเป็นเจ้าของ[ต้องการอ้างอิง]

ความเคารพนับถือ

มนุษย์ทุกคนต้องการที่จะได้รับการนับถือและเคารพให้เกียรติ ความเคารพนับถือแสดงถึงความต้องการของมนุษย์ที่จะได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าโดยคนอื่น คนต้องการที่จะทำอะไรจริงจังเพื่อจะได้รับการยอมรับนับถือและต้องการจะมีกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกว่าเขาได้มีส่วนทำประโยชน์ เพื่อจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ หรือ งานอดิเรก ความไม่สมดุลในความเคารพนับถือ อาจส่งผลให้มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำและรู้สึกต้อยต่ำ คนที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำต้องการการเคารพจากคนอื่นๆ เขาอาจพยายามแสวงหาความมีชื่อเสียง (ซึ่งขึ้นกับผู้อื่น) หมายเหตุ อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ไม่สามารถที่จะแก้ไขความภาคภูมิใจตัวเองได้ง่ายๆโดยการมีชื่อเสียง ได้รับความเคารพ จากภายนอก แต่ต้องยอมรับตัวเองจากภายใน ความไม่สมดุลทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมีความภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem) ได้
คนส่วนใหญ่มีความต้องการความเคารพและความภาคภูมิในในตนเองที่มั่นคง มาสโลว์ได้กล่าวถึงต้องการความเคารพนับถือใน 2 ระดับ คือ ระดับล่าง กับ ระดับสูง ระดับล่าง เป็นความต้องการความนับถือจากคนอื่น ความต้องการสถานะ การยอมรับ ชื่อเสียง ศักดิ์ศรี และ ความสนใจ ระดับสูง เป็นความต้องการความเคารพตัวเอง ความต้องการความแข็งแกร่ง ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความมั่นใจในตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเอง และ อิสระ ที่ความต้องการเหล่านี้จัดเป็นระดับสูง ก็เพราะว่า มันขึ้นกับความสามารถภายในมากกว่า ซึ่งได้มาโดยผ่านประสบการณ์
การขาดความต้องการเหล่านี้ อาจทำให้ความรู้สึกต่ำต้อย อ่อนแอ และช่วยตัวเองไม่ได้ หมดหนทาง
มาสโลว์ได้หมายเหตุไว้ว่าการแบ่งขั้นความต้องการความเคารพนับถือระดับล่างกับสูงนี้เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่จะเป็นการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน

ความสมบูรณ์ของชีวิต

ดูบทความหลักที่: ความสมบูรณ์ของชีวิต
“อะไรที่บุคคลเป็นได้ เขาต้องเป็น” (“What a man can be, he must be.”) เป็นคำกล่าวของมาสโลว์ที่สรุปความหมายของความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตไว้ ความต้องการนี้ เกี่ยวกับ ศักยภาพสูงสุดของบุคคล และ การตระหนักถึงศักยภาพนั้น มาสโลว์อธิบายว่านี้คือความต้องการที่ปรารถนาจะเป็นมากกว่าที่เขาเป็นอยู่ เป็นความปรารถนาที่จะเป็นทุกๆอย่างที่เขาจะสามารถเป็นได้
เพื่อที่จะเข้าใจความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตได้ บุคคลจะต้องได้รับการตอบสนองความต้องการอื่นๆ (กายภาพ ความปลอดภัย ความรัก ความเคารพนับถือ) อย่างดีแล้วก่อน

ทัศนะวิจารณ์

มีงานศึกษาลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์อย่างกว้างขวาง หนึ่งในนั้น วาบาและบริดจ์เวลล์ (Wahba and Bridgewell) พบว่า มีหลักฐานน้อยมากที่ยืนยันถึงลำดับขั้นตามที่มาสโลว์บรรยาย หรือแม้แต่หลักฐานของการมีลำดับขั้นเองก็น้อยมาก
ลำดับของลำดับขั้นที่วางความสมบูรณ์ของชีวิตไว้บนสุด ถูกวิจารณ์โดย เจิร์ต ฮอฟสตีด (Geert Hofstede) ว่าเป็นทฤษฎีที่ลำเอียงตามเชื้อชาติเผ่าพันธ์ (ethnocentric)  การที่เจิร์ต ฮอฟสตีด วิจารณ์พิระมิดของมาสโลว์ว่าลำเอียงจากเชื้อชาติเผ่าพันธ์นั้น อาจมาจาก ลำดับขั้นของมาสโลว์ ไม่ได้อ้างถึง หรือ อธิบายถึงความแตกต่างของ ความต้องการทางสังคมและบุคคล ที่เติบโตในสังคมที่มีแนวคิดแบบปัจเจกนิยม (individualism) กับสังคมที่มีแนวคิดแบบคติรวมหมู่นิยม (collectivism) มาสโลว์ เสนอลำดับขั้นจากมุมมองของแนวคิดแบบปัจเจกนิยม ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมในสังคมของมาสโลว์ ความต้องการของและแรงจูงใจของคนที่อยู่ในสังคมปัจเจกนิยม มักเน้นที่ตัวเองมากกว่า คนที่อยู่ในสังคมแบบคติรวมหมู่นิยม เนื่องจากลำดับขั้นถูกกำหนดจากมุมมองของคนในสังคมปัจเจกนิยม ลำดับของความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตที่ถูกวางไว้บนสุดของลำดับความต้องการ นั้นไม่สามารถใช้อธิบายลำดับความต้องการของบุคคลจากสังคมคติรวมหมู่นิยมได้ โดยในสังคมแบบคติรวมหมู่นิยม ความต้องการการยอมรับและกลุ่มสังคมจะมีความสำคัญเหนือกว่าความต้องการอิสรภาพและความเป็นตัวของตัวเอง
ลำดับขั้นของมาสโลว์ ก็ยังถูกวิจารณ์ว่าเป็นปัจเจกนิยมจากการที่ลำดับที่เขาใส่ความต้องการทางเพศไว้ในพิระมิด มาสโลว์ใส่ความต้องการทางเพศไว้ล่างสุดของพิระมิด ซึ่งเป็นระดับเดียวกับ ความต้องการหายใจ และ ความต้องการอาหาร ซึ่งมุมมองนี้เป็นมุมมองถูกจัดว่าเป็นมุมมองแบบปัจเจกนิยม ไม่ใช่มุมมองจากสังคมแบบคติรวมหมู่นิยม มุมมองความต้องการทางเพศแบบปัจเจกนิยมนี้ไม่มีการนำปัจจัยเรื่องของครอบครัวและชุมชนที่มีความสำคัญในคติรวมหมู่นิยมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ธุรกิจ

การตลาด

มีการนำลำดับขั้นของมาสโลว์มาใช้ในการเรียนการสอนเรื่องการตลาด เพื่อช่วยในการเข้าใจแรงจูงใจของลูกค้า นักการตลาดจะวิเคราะห์ประวัติความต้องการของลูกค้าเพื่อหาวิธีดำเนินการทางการตลาด ถ้าผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามักจะเลือกผลิตภัณฑ์นั้นมากกว่าผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันจากคู่แข่ง

ธุรกิจระหว่างประเทศ

การเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์สำคัญมากสำหรับสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ การประเมินความต้องการ ค่านิยม แรงจูงใจ และ การให้ความสำคัญ ที่ต่างกันระหว่างคนจากประเทศต่างๆ มีค่ามากในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่ต่างกัน นอกจากนั้นมันยังทำให้เห็นด้วยว่าค่านิยมที่ต่างกันจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน มีผลกับบรรยากาศและจริยธรรมในการทำงานอย่างไร เช่น วัฒนธรรมปัจเจกนิยม อาจนำไปสู่ความได้เปรียบทางการวิจัยและพัฒนา ในขณะที่วัฒนธรรมคติรวมหมู่นิยม อาจได้เปรียบในองค์กรแรงงาน ในการควบคุมคุณภาพของสินค้าและบริการและ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่ค้า

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

  1. จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ
    เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก (อังกฤษSeven Wonders of the World) คือ สิ่งก่อสร้างที่มีความยิ่งใหญ่และโดดเด่น ทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน โดยมีการกล่าวถึงครั้งแรกในงานของเฮโรโดตุส (Herodotos หรือ Herodotus เมื่อราว 5 ศตวรรษก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นก็การอ้างถึงจากกวีชาวกรีก เช่น คัลลิมาฆุส แห่งคีเรนี, อันทิพาเตอร์ แห่งซีดอน และฟิโล แห่งไบเซนไทน์ เมื่อราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ หรือสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดของโลก ในบัญชีแรก เรียกกันว่า เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ และหลังจากนั้น ยังมีบัญชีเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางและยุคปัจจุบัน โดยไม่ปรากฏผู้จัดทำรายการอย่างชัดเจน

    เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ

    1. มหาพีระมิดแห่งกีซา ของกษัตริย์คูฟู ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ในอียิปต์ มีอายุราว 2,690 ปีก่อนคริสตกาล หรือเก่าแก่กว่านั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงปรากฏอยู่จนปัจจุบัน และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
    2. สวนลอยแห่งบาบิโลน สร้างโดยพระเจ้าเนบูคาดเนสซาร์ที่ 2 เมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 6 ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานหรือซาก แต่คาดว่าน่าจะอยู่บริเวณเดียวกับกรุงบาบิโลนในประเทศอีรัก
    3. เทวรูปซูสที่โอลิมเปีย ที่เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีก สร้างเมื่อประมาณ 462 ปีก่อนคริสตกาล สร้างและตกแต่งด้วยทองคำ งาช้าง และอัญมณีต่างๆ มีความสูง 12 เมตร ภายหลังถูกไฟไหม้เสียหายจนหมดสิ้น
    4. วิหารอาร์เทอมีส (หรือ วิหารไดอานา) ที่เอเฟซุสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 4 ภายหลังถูกทำลายโดยพวกโกธส์จากเยอรมันที่บุกเข้ามาโจมตี เมื่อปี พ.ศ. 805 ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
    5. สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส ที่ฮาลิคาร์นัสซัสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างโดยพระราชินีอาร์เทมิเซีย เป็นอนุสรณ์สถานแก่กษัตริย์มอโซลุสแห่งคาเรียที่สวรรคตเมื่อ 353 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวและต่อมานำไปใช้ในการก่อสร้างโดยอัศวินแห่งโรดส์ ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
    6. เทวรูปโคโลสซูส ในทะเลเอเจียน ประเทศกรีก เป็นรูปสำริดขนาดใหญ่ของสุริยเทพ หรือเฮลิเอิส สูงประมาณ 32 เมตร ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวหลังการสร้างเพียง 60 ปี ปัจจุบันไม่ปรากฏซาก
    7. ประภาคารฟาโรส แห่ง อเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ สมัยพระเจ้าปโตเลมี ประมาณ 271 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยสิ้นเชิงเมื่อแผ่นดินไหวในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ปัจจุบันมีป้อมขนาดเล็กอยู่บนซากที่เหลื
 เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง == 8794 สิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของโลกสมัยกลาง ไม่ทราบแน่ชัดว่าใครได้กำหนดไว้ และรายการในยุคกลางก็ระบุไว้ไม่ตรงกัน แต่โดยมากจะยอมรับกับรายการต่อไปนี้
      1. โคลอสเซียม สนามกีฬาแห่งกรุงโรม ประเทศอิตาลี
      2. หลุมฝังศพแห่งอะเล็กซานเดรีย สุสานใต้ดินเมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
      3. กำแพงเมืองจีน ประเทศจีน
      4. สโตนเฮนจ์ ในอังกฤษ
      5. เจดีย์กระเบื้องเคลือบ เมืองหนานจิง ประเทศจีน
      6. หอเอนเมืองปิซา ประเทศอิตาลี
      7. ฮาเยียโซเฟีย แห่งคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือ กรุงอิสตันบูลประเทศตุรกี

      เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน

      มีการจัดทำรายการเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกปัจจุบันไว้หลายรายการ เช่น
      กลุ่มวิศวกรโยธาแห่งสหรัฐอเมริกาได้รวบรวมรายชื่อของเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ในโลกยุคปัจจุบันไว้ดังนี้
      1. อุโมงค์รถไฟใต้ทะเล ประเทศอังกฤษ-ฝรั่งเศส
      2. ซีเอ็น ทาวเวอร์ ประเทศแคนาดา
      3. เขื่อนอิไตปู ประเทศบราซิล-ปารากวัย
      4. ตึกเอ็มไพร์สเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา
      5. เดลต้า เวิร์ค ประเทศเนเธอร์แลนด์
      6. สะพานโกลเดนเกต ประเทศสหรัฐอเมริกา
      7. คลองปานามา ทวีปอเมริกาใต้

หอเอนเมืองปิซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอเอนเมืองปิซา
หอเอนเมืองปิซา (อิตาลี: Torre pendente di Pisa หรือ La Torre di Pisa; อังกฤษ: Leaning Tower of Pisa) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) น้ำหนักรวม 14,500 ตันโดยประมาณ มีบันได 293 ขั้น เอียง 3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก 3.9 เมตร

การสร้าง

เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1173 สร้างเสร็จเมื่อปี 1350 ใช้เวลาสร้างประมาณ 175 ปี แต่การก่อสร้างหยุดชะงักเมื่อสร้างไปได้ถึงชั้น 3 เนื่องจากพื้นใต้ดินเป็นพื้นดินที่นิ่ม ทำให้ยุบตัว ต่อมาในปี ค.ศ.1272 โดย จีโอแวนนี่ ดี สิโมน สร้างให้เอนกลับไปอีกด้านหนึ่งเพื่อให้สมดุล แต่การก่อสร้างในครั้งนี้ ก็ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งเนื่องจากเกิดสงคราม ต่อมาก็มีการสร้างหอต่อขึ้นอีกและสร้างเสร็จ 7 ชั้น ในปี ค.ศ.1319 แต่หอระฆังถูกสร้างเสร็จในปี ค.ศ.1372 โดยใช้เวลาสร้างทั้งหมด 177 ปี
หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1990-2001 หอเอนปีซาได้รับการปรับปรุงฐานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้หอล้มลงมา

ประวัติ

กาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยใช้หอนี้ทดลองเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วง ในตอนที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา โดยใช้ลูกบอล 2 ลูกที่น้ำหนักไม่เท่ากันทิ้งลงมา เพื่อพิสูจน์ว่า ลูกบอล 2 ลูกจะตกถึงพื้นพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามที่กาลิเลโอคาดไว้
ในปี ค.ศ.1934 เบนิโต มุสโสลินี พยายามจะทำให้หอกลับมาตั้งฉากดังเดิม โดยเทคอนกรีตลงไปที่ฐาน แต่กลับทำให้หอยิ่งเอียงมากขึ้นไปอีก กองทัพสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่ยิงปืนใหญ่ใส่หอเอนเมืองปิซา
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1964 รัฐบาลอิตาลี พยายามหยุดการเอียงของหอเอนเมืองปิซา โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น วิศวกร นักคณิตศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ โดยใช้เหล็กรวมกว่า 800 ตัน ค้ำไว้ไม่ให้หอล้มลงมา
ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1990 หอเอนเมืองปิซาถูกปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังขุดดินของอีกด้านหนึ่งออก เพื่อให้สมดุลยิ่งขึ้น และในวันที่ 15 ธันวาคม 2001 หอเอนเมืองปิซาถูกเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้ง และถูกประกาศว่าสมดุลแล้วใน 300 ปีต่อมาหลังจากเริ่มทำการปรับปรุง
ค.ศ.1987 หอเอนเมืองปิซาถูกประกาศให้เป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Piazza Dei Miracoli หอเอนเมืองปิซายังเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางอีกด้วย