วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

เวนิสวาณิช

เวนิสวาณิช (อังกฤษ: The Merchant of Venice)ซึ่งเชื่อว่าแต่งขึ้นในราวปี ค.ศ. 1596-1598     เวนิสวาณิชเป็นบทประพันธ์อันลือชื่อของ วิลเลียม เชกสเปียร์ กวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ แปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นกลอนบทละคร และนำมาเป็นบทเรียนวรรณคดีไทยจัดอยู่ในประเภทละครชวนหัว แต่ต่อมาก็ได้รับการยอมรับให้เป็นวรรณกรรมโรแมนติกในบรรดาผลงานของเช็ค สเปียร์ทั้งหมด เนื่องจากมีฉากรักที่โดดเด่นมาก และความโด่งดังของตัวละคร ไชล็อก

 



The Merchant of Venice ได้แปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นกลอนบทละครในปี พ.ศ. 2459 นอกจากนี้ยังมี เวนิสวาณิช ฉบับการ์ตูน เรียบเรียงโดย ชลลดา ชะบางบอน

 

เรื่องราวเริ่มต้นที่บัสสานิโยชายหนุ่มเชื่อสายผู้ดีแต่ยากจน ซึ่งตกหลุมรักสาวงามนามว่าปอร์เชีย เพื่อต้องการเดินทางไปหานาง เขาจึงมาขอยืมเงินอันโตนิโย 3,000 เหรียญ อันโตนิโยเป็นคนรักเพื่อน แต่ในตอนนั้นทรัพย์สินทั้งหมดอยู่ที่เรือสินค้า ซึ่งจะมาถึงอีกไม่ช้า เขาจึงขอยืมเงินของไชล็อกมาให้บัสสานิโย ไชล็อกซึ่งมีจิตใจคิดร้ายและเกลียดอันโตนิโยมาแต่ต้น ตกลงให้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย แต่ทำสัญญาว่าหากถึงเวลาถ้าอันโตนิโยไม่สามารถใช้หนี้ได้จะต้องชดใช้โดยการ ให้ไชล็อกเชือดเนื้อหนัก 1 ปอนด์ 

ถ้าหากถึงเวลากำหนดใช้
ท่านมิได้ใช้เงินกู้ไปนั่น
ให้ต้องตามหนังสือคู่มือพลัน
ตัวดิฉันจะขอสิ่งอื่นแทน
ขอมังสังชั่งหนักหนึ่งปอนด์ถ้วน
แล่เอาตามแต่ที่ควร อย่าหวงแหน..






 
ส่วนนางปอร์เชียนั้น บิดาของนางซึ่งตายไปแล้วสั่งให้เลือกคู่โดยการให้ชายที่สมัครเป็นคู่ของนาง เลือกหีบ 3 ใบ ผู้ใดเลือกได้หีบที่มีรูปของนางจะได้แต่งงานกับนาง หีบ 3 ใบได้แก่หีบทอง หีบเงิน และตะกั่ว นางปอร์เชียเป็นหญิงงาม พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ จึงมีชายมาเลือกหีบหลายราย แต่ มีเพียงบัสสานิโยที่เลือกถูกใบ จึงได้แต่งงานกับนางปอร์เชีย 

ขณะเดียวกันมีจดหมายมาจากอันโตนิโยบอกว่าเรือสินค้าหายในทะเล จึงไม่มีเงินไปใช้หนี้ไชล็อก ขอให้บัสสานิโยดูใจเพื่อนก่อนตาย ซึ่งเมื่อนางปอร์เชียทราบเรื่องก็ยินดีที่จะให้เขาเงินของเธอไปให้อันโตนิโย ใช้หนี้ไชล็อก

เขาเป็นคู่ชีวิตของพี่ยา
คนใจดียิ่งกว่าหาไม่ได้
ทั้งในการบำเรอบำรุงใจ
บ่มิได้หน่ายจิตระอิดระอา


ไชล็อกซึ่งมีใจโหด** ไม่ยอมรับเงินใช้หนี้ไม่ว่าจะกี่เท่าก็ตาม ขณะนั้นนางปอร์เชียซึ่งปลอมตัวเป็นเนติบัณฑิตเข้ามาในศาล นางขอให้ไชล็อกกรุณาแต่ไชล็อกกลับกล่าวว่าจะบังคับกันหรือ และนี่คือคำพูดของปอร์เชีย





The quality of mercy is not strain'd,
It droppeth as the gentle rain from heaven




พระราชนิพนธ์แปลความว่า

อันว่าความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน



และอีกบทหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก คือ


Tell me where is fancy bred,
Or in the heart, or in the head?
How begot, how nourished?
Reply, reply.
It is engender'd in the eyes,
With gazing fed; and fancy dies
In the cradle where it lies.
Let us all ring fancy's knell
I'll begin it,--Ding, dong, bell



พระราชนิพนธ์แปลความว่า

ความเอยความรัก      เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างหัวใจ     หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง    อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรตี     ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย





ตอบเอยตอบถ้อย           เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่าสงสัย
ตาประสบตารักสมัครไซร้       เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน
แต่ถ้าแม้สายใจไม่สมัคร          เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ,
ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน     ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย



 ไม่ว่าอย่างไรไชล็อกก็หายอมไม่ นางปอร์เชียจึงบอกว่าถ้าอย่างนั้นก็ให้แล่เนื้อได้ แต่ห้ามให้มีโลหิตติด และไม่ให้น้ำหนักขาดหรือเกิน

ดังนี้จงเตรียมแล่มังสะไป
แต่โลหิตอย่าให้ไหลแม้สักนิด

อย่าแล่มากหรือน้อยกว่าหนึ่งปอนด์
ถ้าตัดก้อนเนื้อนั้นน้ำหนักผิด
หนักเบาไปแม้แต่สักนิด
ผิดแม้แต่ส่วนมาตราไป

หรือตราชูเอียงไปข้างใดแม้
แต่เพียงเท่าน้ำหนักเส้นเกศา
ยิวจะต้องถูกประหารซึ่งชีวา
และริบสาระสมบัติด้วยทันที.




 

................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น